วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

บทเรียนเหตุการณ์ตากใบ ใคร?ได้ ใคร?เสีย

 

25 ตุลาคม 2547 เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งปีนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 17 ของการเกิดเหตุการณ์ ซึ่งหลายองค์กรต่างเตรียมการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ ขณะที่เครือข่าย NGO แถลงข่าวในสภาเกี่ยวกับกรณีตากใบพลักดัน ร่างพรบ.ทรมานอุ้มหายให้ผ่าน โดยนำเรื่องตากใบมาเป็นบทเรียน 

ความเป็นมาของเหตุการณ์ตากใบเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านหลายท่านคงจะทราบเรื่องดี ว่าได้เกิดอะไรขึ้นนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมหลายสิบรายในวันนั้น

25 ตุลาเหตุการณ์ตากใบสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่คนในพื้นที่ต้องจดจำ ปัญญาชนอย่างเรา ควรคิดว่าจะนำประวัติศาสตร์นี้เป็นบทเรียนได้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐในการสลายการชุมนุม เมื่อเกิดความผิดพลาดแล้ว อะไรเป็นสิ่งที่เป็นความรับผิดชอบต่อการกระทำเช่นนี้ การเยียวยาจากรัฐเป็นคำตอบสุดท้ายแล้วรึ ผมเองก็ไม่รู้ อยากให้เราในฐานะปัญญาชนเอามาคิด วิเคราะห์เอง และสิ่งสำคัญ ความพึงพอใจของประชาชน ที่ถูกกระทำ การได้รับทรัพย์เยียวยา ประชาชนที่ถูกกระทำ มีความพอใจขนาดไหน เราในฐานะปัญญาชนสามารถหาคำตอบเองได้ ซึ่งผมก็ไม่สามารถที่จะพูดหรือตอบแทนคนเหล่านั้นได้ สิ่งที่เราควรตระหนักคือ บทเรียนครั้งนี้ “เราได้อะไร สังคมได้อะไร หากเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นในอนาคต รัฐจะแก้ปัญหาอย่างไร นี่คือบทเรียนที่ปัญญาชนอย่างเรา ต้องนำมาคิด”

ก่อนอื่นเราต้องตั้งคำถามก่อนว่าผู้ที่ไปชุมนุมหน้า สภ.ตากใบในวันนั้น ไปด้วยสาเหตุอะไร?...การรวมตัวกันของประชาชนจำนวนมากที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องธรรมดา เหตุเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐได้ดำเนินการจับกุมชาย 6 คน ซึ่งทำหน้าที่ ชรบ. ในข้อหายักยอกอาวุธปืนของทางราชการ และแจ้งความอันเป็นเท็จกล่าวอ้างว่า อาวุธปืนถูกผู้ก่อความไม่สงบช่วงชิงไป ระหว่างนั้นเริ่มมีกลุ่มวัยรุ่นรวมตัวปิดล้อมโรงพักเป็นจำนวนมาก เพื่อเรียกร้องทำการกดดันให้มีการปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม ซึ่งในเวลาต่อมามีกลุ่มไม่หวังดีแอบแฝงสร้างสถานการณ์ พร้อมทั้งใช้อาวุธก้อนหินขว้างปา จนนำไปสู่การสลายการชุมนุม แต่จุดที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมจริงๆ คือการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจำนวนมากด้วยการนอนราบทับซ้อนกัน ผู้ชุมนุมมีสุขภาพอ่อนแออยู่แล้วเพราะอยู่ในห้วงเทศกาลถือศีลอด จากแรงกดทับ ขาดอากาศหายใจ จนเกิดการสูญเสียขึ้น

อย่าลืมว่า ณ ห้วงเวลานั้น มีหลายเหตุการณ์ด้วยกันที่เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยจะมีการปล่อยข่าวแบบปากต่อปากทั้งข่าวจริงข่าวลวงสร้างกระแสบิดเบือนความจริง สร้างความเกลียดชัง จนเกิดกระแสการรวมตัวกันขึ้นของกลุ่มมวลชนเป็นร้อยเป็นพันคนได้เพียงไม่กี่นาที แต่มวลชนที่มานั้น มาด้วยอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว ไร้สติยากแก่การควบคุม แล้วใคร? คือผู้ที่ทำการปลุกระดมมวลชนตัวฉกาจ การรวมตัวอย่างได้ผลและรวดเร็วปานนั้นในแต่ละหมู่บ้านย่อมมีแกนนำกลุ่มขบวนการแฝงตัวอยู่เพื่อหลอกใช้ประชาชน

อยากจะตั้งคำถามกลับไปว่า “เหตุการณ์ตากใบ ใคร? ได้..ใคร? เสีย ใคร? ได้ผลประโยชน์ และใคร? คือผู้รับกรรม”

เหตุการณ์ได้ผ่ามา 17 ปี เราได้บทเรียนอะไรบ้างจากความสูญเสียดังกล่าว สิ่งหนึ่งที่เป็นความจริงคือ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบ ต้องการอยู่อย่างสงบสุข แต่กลับมีกลุ่มนักศึกษา-กลุ่ม NGOs พยายามปลุกผีตากใบขึ้นมาเพื่ออะไร? หรือกลุ่ม องค์กรเหล่านี้ต้องการตอกย้ำรอยแผลให้กับผู้ที่สูญเสีย

โศกนาฏกรรมตากใบ ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐต่างตกเป็นเหยื่อของกลุ่มขบวนการโจรใต้ ที่ได้วางกับดักจัดฉากขึ้นมา สุดท้ายนำเหตุการณ์ดังกล่าวมาทำการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ตอกย้ำความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เพื่อต้องการสื่อไปยังองค์กรระหว่างประเทศ

กล่าวอย่างตรงไป-ตรงมา การขุดคุ้ยรำลึกเหตุการณ์ตากใบในทุกปี เป็นการสะกิดบาดแผลความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหา แต่ในอีกมิติหนึ่งเป็นการดีที่จะสื่อให้เห็นว่า กลุ่มขบวนการโจรใต้แบ่งแยกดินแดน คือผู้อยู่เบื้องหลังความสูญเสียเหตุการณ์ตากใบ ในวันนั้น อีกทั้งหลังเกิดเหตุการณ์ผสมโรงด้วย "องค์กรแนวร่วมโจรใต้" ใช้ความตายของผู้คนในการกอบโกยผลประโยชน์เพื่อองค์กรของตัวเอง โดยไม่ใยดีคราบน้ำตาของครอบครัวผู้สูญเสียเหตุการณ์ตากใบ”

“โจรใต้และองค์กรแนวร่วมหยุดเสียที หยุดหากิน หาผลประโยชน์บนกองทุกข์พี่น้องตากใบ”



วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ตากใบ แผนหลอก กลลวง โจรใต้ ชาวบ้านเสียชีวิต รัฐเสียประชาชน โจรใต้ได้แนวร่วม

 


สถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ไม่ใช่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือโดยการเรียกร้องต้องการของประชาชน หรือของญาติพี่น้องของผู้ต้องหาเกี่ยวกับการแจ้งความเท็จเรื่องอาวุธปืนจำนวน 6 คน แต่เป็นเรื่องของการจงใจสร้างสถานการณ์อย่างชัดเจน มีการประสานงานกับมวลชนในหลายพื้นที่ รวมทั้งในพื้นที่อำเภอตากใบ และพื้นที่อื่นๆ ให้มาร่วมชุมนุมยังจุดนัดหมายในเวลาเดียวกัน

ซึ่งในเวลาต่อมาปรากฏว่าได้มีบรรดาชายฉกรรจ์ และกลุ่มวัยรุ่นนับหลายร้อยคน  เริ่มเดินทางมารวมตัวปิดทางเข้าออกของโรงพักอำเภอตากใบ เพื่อกดดันให้เจ้าหน้าที่ทำการปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 ซึ่งเมื่อเวลายิ่งผ่านไป จำนวนคนที่โอบล้อมได้เพิ่มจำนวนเป็นหลักพันคน เจ้าหน้าที่พยายามใช้วิธีเจรจาไกล่เกลี่ย  แต่บรรดาผู้ชุมนุมไม่มีทีท่าจะรับฟังสิ่งใดทั้งสิ้น พร้อมกับโห่ร้องปลุกระดม ยื่นเงื่อนไขให้เจ้าหน้าที่ทำการปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 โดยไม่มีข้อแม้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ในขณะที่เจ้าหน้าที่ได้พยายามติดต่อบรรดาผู้ปกครองของผู้ชุมนุมที่เป็นวัยรุ่นให้มาช่วยกันกล่อมบุตรหลานให้กลับบ้าน ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง มีผู้ชุมนุมบางส่วนเริ่มทยอยเดินทางกลับ เนื่องจากรู้ว่าเป็นกลลวงของกลุ่มขบวนการที่ชักจูงโน้มน้าวให้ชาวบ้านมาชุมนุมปิดล้อมโรงพักตากใบ ซึ่งมีบางส่วนได้ให้ข้อมูลว่าก่อนหน้านี้มีการหลอกชาวบ้านว่าจะนำไปเปิดบวช (ละศีลอด เดือนรอมฏอน) ซึ่งชาวบ้านเองก็หลงเชื่อเป็นจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วกลุ่มขบวนการขนมาสมทบเพื่อเพิ่มกำลังคนในการชุมนุมจนเกิดการประท้วงขึ้น แต่เหตุการณ์ก็ยังคงมีทีท่าว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีผู้ชุมนุมบางส่วนมีการนำอาวุธเข้ามา และบางส่วนมีอาการในลักษณะมึนเมา และเริ่มรุนแรง  จนถึงขั้นใช้ทั้งก้อนหิน ใช้ไม้และสิ่งของขว้างปาใส่เจ้าหน้าที่ และไปจนถึงขั้นมีบางคนที่ใช้อาวุธปืน  จากนั้นเริ่มมีบางส่วนทำการผลักดันบุกเข้ามาในบริเวณที่เจ้าหน้าที่ตั้งรับอยู่ จึงเกิดการปะทะกันขึ้น นำไปสู่ความชุลมุนวุ่นวาย เจ้าหน้าที่ทำการสลายการชุมนุมด้วยการใช้น้ำแรงดันสูงฉีดเข้าใส่ผู้ชุมนุม และใช้กำลังตำรวจทหาร เข้าจับกุมบรรดาหัวโจกหลายๆ คนที่เป็นแกนนำ ทำการควบคุมสถานการณ์ และเมื่อสถานการณ์สงบลง ปรากฎว่ามีผู้ชุมนุมเสียชีวิตและเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บบางส่วน

การเกณฑ์คนให้มารวมตัวกันนำไปสู่ความสูญเสีย เป็นความมุ่งหมายของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ต้องการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมา อีกทั้งยังนำเหตุการณ์ต่างๆ เชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน เช่น กรณี กรือเซะ ตากใบ ถือว่าเป็นเหตุการณ์“ตายหมู่”จากการถูกหลอกให้ประชาชนเป็นเหยื่อความตายของกลุ่มขบวนการ เนื่องจากมีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว ด้วยการปลุกระดมชวนเชื่อให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการต่อสู้ที่ไร้อุดมการณ์ นำไปสู่การสูญเสียชีวิตจะต้องสังเวยไปกับเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ทุกฝ่ายเสียใจกับเหตุการณ์เหล่านั้น แต่กลุ่ม ผกร.กลับใช้เป็นเงื่อนไขในการต่อสู้

        สำหรับปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องยอมรับว่ามีปัจจัยแทรกซ้อนหลายเรื่องที่มีความเชื่อมโยงกัน จนทำให้สภาพปัญหามีความสลับซับซ้อนเกี่ยวพันกันในหลายมิติ มีการนำเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาสร้างความแตกต่าง สร้างความแปลกแยก ปลูกฝังความคิดความเชื่อมานานจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ให้มีความเกลียดชังคนต่างศาสนา รวมถึงความพยายามของกลุ่ม ผกร. ในการวางแผนสร้างความแตกแยกในพื้นที่ใส่ร้าย สาดโคลนเจ้าหน้าที่รัฐ

        นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เคยเข้าร่วมทำการเคลื่อนไหวเหตุกรือเซะ ตากใบ มีบางคนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าว นำไปสู่ความเกลียดชังฝังใจ ซึ่งเป็นช่องทางให้กลุ่มขบวนการ นำคนเหล่านั้นเข้าร่วมเป็นสมาชิกโดยง่าย สั่งการให้ทำการก่อเหตุลอบทำร้ายประชาชน ทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งหนึ่งในนั้นมี นายมะรอโซ จันทราวดี อดีตแกนนำคนสำคัญที่เคยก่อเหตุนับครั้งไม่ถ้วนในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ต้องมาจบชีวิตจากการเป็นหัวโจกนำพวกบุกโจมตีฐานนาวิกโยธินต้องสังเวย 16 ศพ

        เหตุการณ์หลายๆ เหตุเป็นแผนลวง ขุดหลุมพราง ของกลุ่ม ผกร. ที่หลอกคนให้ไปตาย เพื่อต้องการสร้างประวัติศาสตร์ร่วมสมัยขึ้นมา ใช้เป็นเงื่อนไขในการทำลายความชอบธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐในการบังคับใช้กฎหมาย ถึงคราววาระครบรอบเหตุการณ์สำคัญเมื่อไหร่ จะมีปีกการเมืองแนวร่วมออกมารำลึก ทำการเผยแพร่ขุดคุ้ยเรื่องราวเก่าๆ ซึ่งน่ายกย่องสรรเสริญจริงๆ กับแผนชั่ว ที่กลุ่มคนเหล่านี้ได้ใช้ความตายเหยียบศพของพี่น้องมุสลิมด้วยกันเองศพแล้วศพเล่า เพื่อสนองตัณหา สนองความอยาก.. ผลประโยชน์ของแกนนำขบวนการที่เสวยสุขอยู่เมืองนอก เพียงไม่กี่คน...แล้วประชาชนในพื้นที่..ครอบครัวผู้ที่สูญเสียล่ะ...ได้อะไร?

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เมื่อความจริงปรากฎ ผลพิสูจน์หลักฐานชี้ชัดอาวุธปืน 2 โจรใต้ กรงปินัง ก่อเหตุมาแล้ว 17 คดี มีผู้เสียชีวิต 14 คน

 

กรณีเมื่อ  4 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 15.30 น. เจ้าหน้าที่ได้มีการปิดตรวจค้นจับกุมตัว นายรีสวัน เจ๊ะโซะ และพวก ตามหมายจับในคดีความมั่งคง  บ้านบาตูบือละ ม.2 ต.สะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่เป็นการปฏิบัติตามมาตราการจากเบาไปหาหนัก ตามแนวทางสันติวิธี โดยเชิญผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น และญาติ ช่วยเกลี่ยกล่อมให้โอกาสมอบตัว  จนทำให้ นายวันฮาซัน อะซู ยอมออกมามอบตัว ส่วนคนร้ายอีก 2 คน พยายามใช้อาวุธปืนอาก้ายิงใส่เจ้าหน้าที่ เพื่อเปิดทางหลบหนีและเกิดการยิงต่อสู้จนเป็นเหตุให้ อส.ทพ.นพฤทธิ์ สุขสอน สังกัดหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 47 เสียชีวิต ส่วนผู้ก่อเหตุถูกวิสามัญทั้ง 2 คน ทราบชื่อ นายรีสวัน เจ๊ะโซะ และนายอีลียัส เวาะกา

ล่าสุดเมื่อผลพิสูจน์ปลอกกระสุนของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 (ศพฐ.10) ทำการตรวจอาวุธปืนและปลอกกระสุนที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ พบว่ามีความเชื่อมโยงคดีสำคัญถึง 17 คดี มีผู้เสียชีวิต 14 ราย

รายการของกลางที่ส่งตรวจพิสูจน์

1. ปืนเล็กกล(AK47) ขนาด 7.62 มม. RUSSIAN เลขหมายประจ าปืน 26048714 (ป.0739/2564)

 จำนวน 1 กระบอก

2. ปืนเล็กกล(AK47) ขนาด 7.62 มม. RUSSIAN เลขหมายประจ าปืน 17094687 (ป.0739/2564)

 จำนวน 1 กระบอก

3. ปืนพกออโตเมติก(SMITH&WESSON) ขนาด 9 มม.LUGER เครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบ

เลขหมายประจ าปืน VDF9412 (ป.0739/2564) จำนวน 1 กระบอก

4. ปลอกกระสุนปืน ขนาด 7.62 มม. RUSSIAN (ป.0732, 0738/2564) จำนวน 83 ปลอก

5. ปลอกกระสุนปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม.LUGER (ป.0738/2564) จำนวน 7 ปลอก

ผลการตรวจพิสูจน์เบื้องต้น

1. ตรวจพบว่าปืนของกลางรายการที่ 1 เคยใช้ยิงในคดีอื่นที่มีประวัติเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล ของศพฐ.10 จำนวนรวม 8 คดีตามบัญชีแนบท้ายที่ 1

2. ตรวจพบว่าปืนของกลางรายการที่ 2 เคยใช้ยิงในคดีอื่นที่มีประวัติเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล ของศพฐ.10 จำนวนรวม 2 คดีตามบัญชีแนบท้ายที่ 2

3. ตรวจพบว่าปืนของกลางรายการที่ 3 เคยใช้ยิงในคดีอื่นที่มีประวัติเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล ของศพฐ.10 จำนวนรวม 7 คดีตามบัญชีแนบท้ายที่ 3

 4. - ปลอกกระสุนปืนของกลางรายการที่ 4 จำนวน 38 ปลอก ยิงมาจากปืนของกลางรายการที่ 1

     - ปลอกกระสุนปืนของกลางรายการที่ 4 จำนวน 45 ปลอก ยิงมาจากปืนของกลางรายการที่ 2

5. ปลอกกระสุนปืนของกลางรายการที่ 5 จำนวน 7 ปลอก ยิงมาจากปืนของกลางรายการที่ 3



ผลจากการตรวจพิสูจน์ปลอกกระสุนของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 (ศพฐ. 10) และระบบ FIDS หรือระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลนิติวิทยาศาสตร์ชัดเจนถึงความเชื่อมโยงของคดี คนร้ายก่อเหตุมาแล้ว 17 คดี มีผู้เสียชีวิต 14 ราย มีพี่น้องไทยพุทธไทยมุสลิมต้องกลายเป็นเหยื่อจากปากกระบอกปืนคมกระสุนของ 2 แนวร่วมโจรใต้กรงปินัง แม้แต่มุสลิมด้วยกันก็ไม่ละเว้น

แต่กระนั้นก็ยังมีสื่อบางประเภท คนบางพวก ยังยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษ ทำเพื่อคนปาตานี ต่อสู้เพื่อมาตุภูมิ บริจาคช่วยเหลือครอบครัวโจร คนพวกนี้เขาไม่เคยสำนึกละลายต่อชีวิตเหยื่อบางเลยหรือ?
แล้วแบบนี้ในอนาคตเยาวชนชายแดนใต้จะเป็นอย่างไร หรือหลงผิด  ฆ่าคนเป็นวีรบุรุษ ฆ่าคนมีคนบริจาคช่วยเหลือ แล้วความเป็นธรรมให้กับเหยื่อผู้บริสุทธิ์อยู่ที่ไหน เมื่อตรรกะของสังคมถูกทำให้บิดเบี้ยวอย่างนี้